top of page

PEAFOWL LEARNING CENTER

นกยูงไทย ถือเป็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเรียนรู้ผู้อื่นและย้อนกลับมามองตัวเองอย่างเข้าใจในสรรพสิ่งของโลกที่ไม่สามารถแยกตัวออกจากกันได้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อีกทั้งนกยูงไทยของกลุ่มจังหวัดยังถือเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นสถานที่ (Place) อันมีนัยยะของการเป็นพื้นที่มีเรื่องราว มีเรื่องที่ให้จดจำไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความพึงพอใจ หรือความไม่พึ่งพอใจ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ความเป็นสถานที่ในพื้นที่ใดๆ ที่เกิดจากความโดดเด่นในแง่ของร่องรอยทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ที่ปรากฏให้พบเห็นอยู่ในปัจจุบัน มักเป็นลักษณะสิ่งที่พึงปรารถนาจากคนในเมืองปัจจุบัน กล่าวคือ คนในปัจจุบันยังต้องการสิ่งของที่ตรงตามความต้องการ ยินดีที่ได้มา และหวงแหนรักษา พื้นที่เมืองก็เช่นกัน เราก็ต้องการพื้นที่ที่เราชอบที่จะเข้าไปใช้ ตอบสนองรสนิยม ชอบที่จะเข้าไปใช้บ่อยๆ คุ้นเคย ผูกพัน และอยากถนอมรักษาไว้

โครงการจัดทำแผนแม่บทศูนย์การเรียนรู้นกยูงไทย มีเป้าหมายรองรับการพัฒนาพื้นที่ที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของนกยูงไทยในกลุ่มจังหวัดล้านนาตะวันออก หรือสะท้อนถึงศิลปกรรมล้านนาตะวันออก เพื่อใช้เป็นต้นแบบการก่อสร้างในรูปแบบเดียวกันทั้งกลุ่มจังหวัดล้านนาตะวันออก (เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน) 

bottom of page